11 May 2012

คำสั่ง Ubuntu เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล

คำสั่งเกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูล

สิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลจะแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับเจ้าของ (Owner) ระดับกลุ่ม (Group) ระดับบุคคลอื่น (Other)

สิทธิ์ในการกระทำกับข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระดับคือ อ่าน (Read) เขียน (Write) ประมวลผล (Execute)

คำสั่งที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์เหล่านี้ได้แก่

- chgrp (change group) 
- chown (change owner)
- chmod (change mode)

ตัวอย่างการใช้งาน

- chgrp (change group) 

chgrp root /home/multiwan

- chown (change owner)

chown nobody.nogroup /var/spool/frox

- chmod (change mode)

chmod +x makeconfig.sh

--------------------------------------------------------------------------------------
chfin
คำสั่งChange your finger informationของระบบ Unix,Linux (เป็นการกำหนดข้อมูลของUser เช่น ชื่อเต็ม ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์)
รูบแบบการใช้งาน chfn [username]
ตัวอย่าง chfn User1 กำหนดรายละเอียดUser1

chgrp
คำสั่งChange Groupของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนกลุ่มเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chgrp [-chfRv] (Group) (File)
ตัวอย่าง chgrp root /root/* เปลี่ยนGroupให้กับไฟล์ทุกไฟล์ในไดเรคทอรี่ /root ให้เป็น Group root

chmod
คำสั่งChange Modeของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนสิทธิการเข้าถึงไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chmod [สิทธิ] (File)
ตัวอย่าง กำหนดสิทธิให้กับไฟล์ชื่อtest คือ chmod 754 test หรือ chmod go +r-w testให้กับไฟล์ทุกไฟล์ chmod o-r *
ตัวเลขMode rwx = 7 ; rw – =6 ; r-x =5 ; r- – = 4 ; – wx = 3 ; – w – = 2 ; – - x = 1 ; – - = 0
การกำหนดสิทธิกำหนดได้2ลักษณะคือ
1.กำหนดโดยใช้อักษรย่อกลุ่ม
2.ใช้รหัสเลขฐาน2แทนสิทธิ (1 คืออนุญาต)
กลุ่มผู้ใช้ User Group Other = ugo เช่น go-r-w+x คือกลุ่ม และคนอื่นไม่มีสิทธิอ่านเขียนแต่Runได้
สิทธิ์การใช้ -rwx rwx rwx = Read Write Execute
รหัสเลขฐาน 111 101 100 = 754 คือเจ้าของไฟล์ใช้ได้ครบ คน Group เดียวกันอ่านExecuteได้นอกนั้นอ่านได้อย่างเดียว

chown
คำสั่งChange Ownerของระบบ Unix,Linux (เป็นการเปลี่ยนเจ้าของไฟล์)
รูบแบบการใช้งาน chown [ซื่อเจ้าของไฟล์] (ชื่อFile)
ตัวอย่าง chown user1 filename คือเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ชื่อ filename เป็นUser1
chown -R user1.root dirname คือเปลี่ยนทั้งเจ้าของไฟล์และกลุ่มไปพร้อมกันทุกไฟล์ใน Sub dirname.

No comments:

Post a Comment